การสืบพันธุ์พืชดอก
พืชดอก หมายถึง
พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น
พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ
ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ
เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์
พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ ได้แก่
-
พืชดอกที่อยู่บนบก ได้แก่ มะม่วง ชบา กุหลาบ มะเขือ
มะขาม มะพร้าว
ฟักทอง
มะละกอ มะลิ มะกอก
- พืชดอกที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ บัว สันตะวา ผักตบชวา
ผักกระเฉด จอก แหน
พืชดอกแบ่งได้
2 ประเภท
1. พืชยืนต้น คือพืชที่มีอายุยืน ส่วนต่างๆ
ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้
ตลอดอายุ
ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง เช่น ยางพาราและไม้ผลต่าง ๆ พวกมะม่วง
มะพร้าว
มะขาม กระท้อน เป็นต้น
2. พืชล้มลุก คือพืชที่มีการเจริญเติบโตเพียงแค่ออกดอกออกผลในระยะเวลา
อันสั้น
แล้วก็ตาย พืชล้มลุกที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มาก ได้แก่ พืชจำพวกผักต่างๆ
ผักกาด
ผักชี ต้นหอม กะหล่ำปลี บวบ ฟักทอง ฯลฯ
ส่วนประกอบของดอก
พืชมีอยู่หลายชนิดหลายพันธุ์
ดอกของพืชดอกจึงมีลักษณะขนาดและสีที่
ต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด
ดอกจะมีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้
1. กลีบเลี้ยง
เป็นกลีบเล็ก ๆ สีเขียว อยู่ล่างสุดของดอก
ในระยะที่ดอก เริ่มผลิดอกออกมาใหม่ๆ เราจะเห็นดอกตูมสีเขียว
เมื่อดอกตูมขยายโตขึ้น สีเขียวที่หุ้มดอกจะแยกออกมารองรับกลีบดอกกลีบสีเขียวนั้นคือกลีบเลี้ยงนั่น
เอง กลีบเลี้ยงจะทําหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม และป้องกันอันตรายให้กลีบดอกในขณะที่ยังอ่อนอยู่
2.กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาจากกลีบเลี้ยง
กลีบดอกส่วนใหญ่ จะมีสีสวยสะดุดตา หลายชนิดมีกลิ่นหอม
ความสวยงามของดอกจะขึ้นอยู่กับสี ลักษณะและจำนวนของกลีบดอกเป็นสำคัญ
กลีบดอกเป็นส่วนประกอบของ ดอกที่บอบช้ำง่ายและร่วงโรยเร็วกว่าส่วนประกอบอื่น
3.
เกสรตัว มีลักษณะทั่วไปเป็นคล้ายหลอดอันเล็ก
ๆ มักมีสีขาว ปลาย หลอดจะมีอับใส่ละอองเกสร
รูปร่างค่อนข้างกลมเกสรตัวผู้จะอยู่ถัดจากกลีบดอกเข้า มาข้างในดอก
ก้านของเกสรตัวผู้อาจจะติดกับกลีบดอก หรือแยกออกมาต่างหาก ก็ได้
แล้วแต่ชนิดของพืช ดอกไม่ดอกหนึ่ง ๆ อาจมีเกสรตัวผู้ตั้งแต่หนึ่งอันไปจนถึง
หลาย ๆ อัน
4.เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของดอด
อาจจะมีอันเดียวหรือ หลายอันก็ได้ เกสรตัวเมียโดยทั่วไปจะประกอบด้วยรังไข่ที่อยู่ล่างสุด บริเวณฐาน รองดอก ภายในรังไข่จะบรรจุไข่อ่อนเล็ก ๆ ไว้
เหนือรังไข่จะเป็นท่อยาวขึ้นมา เรียกว่า
ก้านชูเกสร ในท่อของก้านชูเกสรจะมีเหนียว ๆ อยู่
เพื่อนำเชื้อตัว ผู้ลงมาผสมกับเชื้อตัวเมียในรังไข่
และบนสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีน้ำ เหนียวๆ อยู่เช่นกัน น้ำเหนียวๆ
นี้จะช่วยยึดเกาะเกสรตัวผู้ให้เข้ามาผสมกับเกสร ตัวเมียได้ดีขึ้น
5.ฐานรองดอก เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของดอก ฐานรองดอกเป็นที่เจริญเติบโตแผ่ขยายต่อออกมาจาปลายก้านดอก
มักจะมีกลีบ เลี้ยงหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง
ฐานรองดอกของพืชบางชนิดอาจจะหุ้มรังไขไว้ทั้งหมด เมื่อรังไข่เจริญขึ้น ฐานรองดอกก็เจริญด้วย และฐานรองดอกของพืชบางชนิด
กลายเป็นเนื้อของผลที่ใช้รับทานได้เช่น ชมพู่ ฝรั่ง
แอปเปิล สาลี่ เป็นต้น
ส่วนประกอบของดอก
การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก
พืชมีดอกมีวิธีแพร่พันธุ์แตกต่างกัน
พืชดอกจะอาศัยดอกในการสืบพันธุ์ เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และกาสรสืบพันธุ์แบบโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก
เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
การถ่ายละอองเกสร
การถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่ละอองเกสรตัวผู้เคลื่อนที่ไป ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย เพื่อให้เกิดการผสมพันธ์ในโอกาสต่อไป
การถ่ายละออง เกสรมี 3 แบบ คือ
1.
การถ่ายละอองเกสรในดอกเดียงกัน
พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์
เพศ คือ
มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้สามารถร่วงหรือ ปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรในดอกเดียวกัน
ได้แก่ ถั่ว มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ
2.
การถ่ายละอองเกสรข้ามดอกในต้นเดียวกัน เกิดกับพืชที่มีดอก ไม่สมบูรณ์
ละอองเกสรตัวผู้จะต้องเคลื่อนที่ไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกหนึ่ง ในต้นเดียวกัน
พืชที่ต้องถ่ายละอองเกสรแบบนี้ ได้แก่ ฟักทอง แตงกวา
และพืช ที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศอื่น ๆ
3.
การถ่ายละอองเกสรข้างต้น
เกิดกับพืชที่มีดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย อยู่คนละต้น
จึงต้องใช้ในการถ่ายละอองเกสรข้ามต้นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ หรือพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน
ก็อาจจะถ่ายละอองเกสร ข้ามต้นได้ โดย
อาศัยลมหรือสัตว์พาไป
การปฏิสนธิ คือ เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (ละอองเรณู)
ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ ตัวเมีย (ไข่อ่อน)
เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียและ
ได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมีย
จะงอกหลอดไปตามเกสรตัวเมีย และเข้าไปผสม
กับเซลล์ไข่
(ไข่อ่อน) ภายในรังไข่
ขั้นที่ 1
ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 3
ละอองเรณูปลิวไปตก
ละอองเรณูงอกหลอด ละอองเรณูไปผสมกับโอวุล
บนยอดเกสรตัวเมีย
ไปตามเกสรตัวเมีย
เกิดการปฏิสนธิ
การเปลี่ยนแปลงของดอกหลังการปฏิสนธิ
หลังจากการปฏิสนธิยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหี่ยวลง กลีบเลี้ยง
กลีบดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป
ส่วนรังไข่และโอวุลจะมีการเจริญเติบโตต่อไป โดยรังไข่จะเจริญกลายเป็นผล
ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด
ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และอาหารสะสมไว้
ภายในเพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ต่อไป
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1.การปักชำ
เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดส่วนของพืชออกจากต้นเดิมมาปัก
ลงในดินหรือทราย ทีมีความชื้นสมควร แล้วรดน้ำทุกวัน
จนเกิดรากแตกออกมาปริมาณมากเเละเเข็งแรงจึงนำไปปลูกลงในดิน
2. การตอนกิ่งคือ
การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้
ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่
3. การทาบกิ่งคือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน
โดยส่วนของต้นตอที่นำมา
ทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี
4.การติดตาคือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน
เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ
5. การเสียบยอดการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2
ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น